ความผันผวนคืออะไร?

เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์จะรู้ว่าความผันผวนสามารถเกิดขึ้น ณ จุดไหนหรือส่วนใดก็ได้ของตลาดที่เราเทรดซึ่งเชื่อมโยงถึงกัน ตลาดที่มีแนวโน้มราบรื่นหรือตลาดที่มีขอบเขตอาจถูกขัดด้วยแรงกระแทกที่รุนแรงและความผันผวนที่ไม่ต้องการ

‘ความผันผวน’ หมายถึงอะไร?

ความผันผวนเป็นแนวโน้มทางสถิติของตลาดที่จะขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วภายในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะวัดจากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หมายความว่าราคามีการเบี่ยงเบนไปจากที่คาดไว้มากเพียงใด ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นค่าเฉลี่ย

ช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนมีลักษณะอย่างไร?

เมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้น เราควรจะเห็นช่วงราคาที่กว้าง มีปริมาณสูง และมีการเทรดไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น มีคำสั่งซื้อน้อยเมื่อตลาดตั้งรับ และมีคำสั่งขายน้อยเมื่อตลาดพุ่งกระโจน ในเวลาเดียวกันเทรดเดอร์อาจไม่ค่อยเต็มใจที่จะถือสถานะไว้เนื่องจากพวกเขาตระหนักว่าราคาสามารถเปลี่ยนไปได้อย่างมาก จากกำไรกลายเป็นขาดทุน

การวิเคราะห์ลงลึกไปกว่านั้นในความผันผวนของตลาดแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงกว่าที่ตลาดจะร่วงลงเมื่อมีความผันผวนสูง และความผันผวนที่ต่ำกว่าพบได้มากกว่าในตลาดที่กำลังปรับสูงขึ้น

volatility-market-period

วงจรตลาดและจิตวิทยา

มีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาด เช่น ประกาศจากธนาคารกลางที่น่าแปลกใจ ข่าวสารบริษัท และผลประกอบการที่ไม่คาดคิด อย่างไรก็ตามสิ่งที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันคือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากแรงของจิตวิทยาที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเผชิญในช่วงเวลาของการเทรด

ที่จุดสูงสุดของตลาด เทรดเดอร์จะรู้สึกพอใจกับผลตอบแทนของพวกเขาและเชื่อว่าสภาพแวดล้อมของตลาดที่เอื้ออำนวยจะคงอยู่ต่อไปไม่มีวันหมดสิ้น การเทรดเป็นงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก เนื่องจากเป็นเรื่องง่ายในการบริหารความเสี่ยงและเลือกรายการที่ทำกำไร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความพึงพอใจเริ่มออกฤทธิ์และอันตรายต่างๆ ก็ถูกเพิกเฉย

อีกด้านหนึ่งคือสภาวะทางอารมณ์ช่วงแนวโน้มขาลงในตลาด ในขั้นของการปฏิเสธความจริงสามารถเปลี่ยนเป็นความวิตกกังวลได้อย่างรวดเร็ว การสูญเสียความมั่นใจนี้ทำให้แผนและกลยุทธ์เปลี่ยนไปหรือแม้กระทั่งเกิดการหลงลืมเนื่องจากความกลัวส่งผล ก่อนที่ความรู้สึกสิ้นหวังจะกลายเป็นการยอมจำนน

ช่วงเวลาสุดท้ายนี้คือช่วงที่เทรดเดอร์มาถึงจุดแตกหัก ความเจ็บปวดจะทุเลาลงได้ด้วยการกดปุ่มขายเท่านั้นและมักจะไม่สามารถคิดได้อย่างสมเหตุสมผล จุดนี้คือจุดคลาสสิก ‘จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ และจงโลภเมื่อคนอื่นกลัว’ วลีที่รู้จักกันดีจากนักลงทุนในตำนานอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ ขาใหญ่จะเริ่มช้อนสะสม ณ จุดนี้ ขณะที่เด็กน้อยจะยังอยู่ในโหมดเร่ขาย

ความกลัวและความโลภเป็นสองส่วนผสมหลักที่สร้างความผันผวน ทั้งสองเป็นรากฐานที่แท้จริงในการเคลื่อนไหวของราคาเมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้นและสามารถเกิดขึ้นในกรอบเวลาใดก็ได้ ทั้งนักเทรดแบบ Scalp, นักเทรดรายวัน ไปจนถึงนักเทรดจากการสวิงต่างต้องประสบพบเจอกับสิ่งนี้

รถไฟเหาะแห่งอารมณ์จากการเทรดและการลงทุน เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องประคองให้นิ่งเข้าไว้

volatility-market-period

ฉันจะวัดความผันผวนได้อย่างไร?

ดังที่เราทราบ ความผันผวนนั้นวัดความแปรปรวนของราคาโดยรวมในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเทรดเดอร์สามารถวัดการเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้หลายวิธี หนึ่งในวิธีการที่รู้จักกันดีคือดัชนีความผันผวนหรือ VIX

‘ความผันผวน’ หมายถึงอะไร?

VIX วัดการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับความผันผวนในอนาคตในช่วง 30 วันข้างหน้าในดัชนี S&P 500 คำนวณจากราคาในออปชั่น ค่า VIX ที่สูงขึ้นส่งสัญญาณถึงความผันผวนในตลาดหุ้นที่สูงขึ้น ขณะที่ค่าที่ต่ำหมายถึงช่วงเวลาที่มีความผันผวนต่ำ พูดง่ายๆ คือเมื่อ VIX ปรับขึ้น S&P 500 จะลดลงซึ่งหมายความว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมในการซื้อหุ้น

กล่าวกันว่าค่าน้อยกว่า 12 คือต่ำ ขณะที่ระดับที่สูงกว่า 20 ถือว่าเริ่มสูง จากที่มีการบันทึกไว้ ระดับระหว่างวันที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 89.5 ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2008 การเปรียบเทียบระดับ VIX จริงกับระดับที่คาดไว้อาจเป็นประโยชน์ในการระบุว่า VIX นั้น “สูง” หรือ “ต่ำ” นอกจากนี้ยังสามารถให้ข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนขึ้นว่าตลาดกำลังคาดการณ์ถึงความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่าอย่างไร

ยังมีดัชนีอื่นๆ ที่คล้ายกันในตลาดตราสารหนี้และสกุลเงินซึ่งบอกเป็นนัยโดยการกำหนดราคาของออปชั่น ซึ่งมีประโยชน์มากเช่นกันในการวัดความผันผวน

ดัชนีความกลัวและความโลภ

VIX นั้นรวมอยู่ในอีกบารอมิเตอร์หนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า Fear & Greed Index หรือดัชนีความกลัวและความโลภ ที่นี่ CNN จะตรวจสอบเจ็ดปัจจัยที่แตกต่างกันเพื่อให้คะแนนความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่เท่ากันของแต่ละปัจจัย

ดัชนีถูกวัดจากระดับ 0 ถึง 100 – ตั้งแต่กลัวอย่างมากไปจนถึงโลภอย่างมาก – โดยค่าที่ 50 ถือว่าเป็นกลาง ดัชนีได้กลายเป็นกระดิ่งเตือนเมื่อความกลัวอยู่ที่จุดสูงสุด

เหตุการณ์ในอดีตแสดงให้เห็นว่าดัชนีชี้วัดนี้สามารถเป็นแนวทางที่เชื่อถือได้สำหรับจุดเปลี่ยนในตลาดหุ้น ยกตัวอย่างเช่น การล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์สในช่วงวิกฤตการเงินโลกในเดือนกันยายนปี 2008 ทำให้ดัชนีดิ่งลงไปต่ำสุดที่ 12 สามปีต่อมา มาตรวัดดังกล่าวแตะ 90 เนื่องจากตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้นอย่างหนักหลังจากรอบสุดท้ายของโครงการซื้อสินทรัพย์ของเฟดหรือ QE4

ความผันผวนโดยนัย

หากเราต้องการเจาะลึกลงไปในความผันผวนของราคาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นในตลาดที่เจาะจง ก็คุ้มค่าในการไปดูความผันผวนโดยนัยและความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง ความผันผวนโดยนัยแสดงราคาในตลาดปัจจุบันตามการคาดการณ์ถึงการเคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตัวเลขคาดการณ์ล่วงหน้านี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคำนวณได้ว่าตลาดจะมีความผันผวนมากน้อยเพียงใดต่อจากนี้ ตัวอย่างเช่นการเคลื่อนไหวและช่วงโดยนัยสำหรับคู่เงินที่มีระดับความเชื่อมั่นมากพอสมควร สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการคำนวณระยะหยุดและขนาดของสถานะ

ความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง

นี่คือการเคลื่อนไหวจริงของราคาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในอดีต เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเช่น Average True Range (ATR) และ Bollinger Bands สามารถช่วยเรากำหนดสิ่งนี้ได้ โดย ATR จะแสดงว่าโดยเฉลี่ยแล้วสินทรัพย์เคลื่อนไหวมากน้อยเพียงใดในกรอบเวลาที่กำหนด ATR ที่ลดลงส่งสัญญาณว่าช่วงราคานั้นแคบลง ดังนั้นความผันผวนจึงลดลง ATR ที่เพิ่มขึ้นชี้ถึงความผันผวนที่เพิ่มขึ้น

Bollinger Bands แสดงถึงความผันผวนที่เพิ่มขึ้นและลดลง โดยจะทำหน้าที่เหมือนแนวรับและแนวต้านแบบไดนามิกและสามารถส่งสัญญาณบอกถึงสภาวะที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป แถบจะกว้างขึ้นเมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้นและแคบลงเมื่อความผันผวนลดลง

5 เคล็ดลับการปฏิบัติสำหรับการเทรดในตลาดที่ผันผวน

การเทรดเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงโดยเนื้อแท้ คุณจัดการกับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันในแต่ละสถานะที่คุณถือครอง หรือคำนวณความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสถานะใหม่ ลองมาดูห้าหลักการที่นักลงทุนควรใช้เมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้น:

1จัดการความเสี่ยง - เข้าใจถึงความเสี่ยงในทุกการเทรดที่คุณดำเนินการ หากคุณทราบถึงผลตอบแทนที่คาดไว้จากการเทรดแต่ละครั้งด้วยการรู้ถึงการเข้าและออกที่เป็นไปได้ทั้งหมด คุณจะบังคับตัวเองให้มองเห็นภาพและเปรียบเทียบการเทรดของคุณอย่างเป็นระบบ เทรดเดอร์ควรคำนึงถึงความแน่นอนเหนือความเสี่ยงอยู่เสมอ ในช่วงเวลาที่ความผันผวนเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปจะหมายถึงการลดระดับเลเวอเรจและขนาดสถานะของคุณ

2ประเภทคำสั่ง - ใช Stop Loss เสมอเพื่อให้คุณทราบปริมาณความเสี่ยงที่แน่นอนที่คุณพร้อมยอมรับจากการเทรดก่อนที่คุณจะเข้าดำเนินการ อย่าลืมว่า “ไม่ใช่เงินที่คุณทำได้ที่ทำให้คุณเป็นผู้ชนะ แต่เป็นเงินที่คุณไม่สูญเสียไป” หากคุณใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพื่อกำหนดระดับ ลองพิจารณาใช้ค่าเฉลี่ยระยะยาวเพื่อลดโอกาสที่คำสั่งของคุณจะทำงานเนื่องจากราคาพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่มีความผันผวนสูง

คุณสามารถลองใช้คำสั่ง Limit ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของคุณโดยการซื้อสูงกว่าราคาตลาดเล็กน้อย ผลที่ตามมาคือคุณทำให้ตลาดขยับขึ้นอีกเล็กน้อย หมายความว่าคุณกำลังซื้อตามเทรนด์แทนที่จะสวนทางกับมัน

คำสั่ง Limit อย่าง Take Profit ก็สำคัญเช่นกัน เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะรู้ถึงโอกาสการกลับตัวในการเทรดของพวกเขาและราคาที่พวกเขาจะออกขณะที่ยังอยู่ในแดนบวก คำสั่งนี้เป็นการขจัดการเทรดด้วยอารมณ์ ซึ่งสำคัญยิ่งกว่าการจำกัด การกลับตัว คุณสามารถเข้าสู่การเทรดใหม่อีกครั้งได้ตลอดเวลาหากคุณได้รับสัญญาณใหม่

3ทำตามแผนของคุณ – คุณควรมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งและชัดเจนซึ่งคุณได้ทำการทดสอบในทุกสภาวะตลาดแล้ว นี่ควรหมายความว่าคุณจะไม่กระโดดเข้าสู่ตลาดที่ผันผวน และไม่เพิกเฉยต่อกฎที่คุณกำหนดไว้ล่วงหน้า เทรดเดอร์ที่เฉลียวฉลาดควรมีแนวทางสำหรับเหตุการณ์ความเสี่ยงพื้นฐาน เช่น การประชุมของธนาคารกลางและการเปิดเผยผลประกอบการ ซึ่งจากในอดีตเป็นเหตุการณ์ที่มีความผันผวนสูง

4การควบคุมอารมณ์ - ตลาดที่ผันผวนสามารถมีอิทธิพลต่อเทรดเดอร์ในการละทิ้งแผนและความอดทน อย่าปล่อยให้ความปราถนา หรือที่เรียกว่าความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation Bias) มาทำให้คุณไขว้เขว คุณต้องมีวินัยในการยอมรับหลักฐานและไม่ตอบโต้อย่างหุนหันพลันแล่น ในทำนองเดียวกัน เทรดเดอร์มักจะดูที่ผลตอบแทนล่าสุดเมื่อทำการตัดสินใจอย่างฉับพลัน หรือก็คือความเอนเอียงจากสิ่งใหม่ ทำให้พวกเขาเลือกไล่ตามผลดำเนินการ

5เพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเอง - ไม่ว่าเทรดเดอร์จะมีประสบการณ์มากแค่ไหนก็ยังมีช่องให้ปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ นี่หมายความว่าให้คุณทำการบ้านอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทั้งในตอนที่การก้าวไปข้างหน้าเป็นเรื่องยากและในตอนที่การเทรดดูเป็นเรื่องง่าย การตรวจสอบกระบวนการของคุณนั้นยังต้องทำต่อไปและลัดข้ามไม่ได้

การเทรดมีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีความผันผวน

การใช้ CFD ในช่วงเวลาที่มีความผันผวน

CFD เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงินตามตลาดที่อ้างอิงซึ่งให้คุณเปิดสถานะที่มีเลเวอเรจสูงได้ คุณซื้อหรือขายสัญญาซึ่งเป็นตัวแทนของจำนวนต่อจุดในตลาดนั้น

เนื่องจากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิง การเทรด CFD หมายความว่าคุณสามารถดำเนินการได้ทั้งในตอนที่ตลาดปรับขึ้นและปรับลง และให้โอกาสคุณในการ Long หรือ Short ในตราสารที่หลากหลาย เช่น หุ้น ดัชนี ฟอเร็กซ์ และสินค้าโภคภัณฑ์

การกระจายความเสี่ยง

เมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้น คุณสามารถใช้ CFD เพื่อกระจายความเสี่ยงในสถานะบางส่วนของคุณ ในสกุลเงิน สิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับการเดิมพันกับดอลลาร์สหรัฐในสถานะหนึ่งและสวนทางในอีกสกุลหนึ่ง ในหุ้น คุณสามารถกระจายความเสี่ยงของคุณไปยังภาคส่วน มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด และภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ได้

ในสถานการณ์นี้ คุณอาจไม่เพียงใช้สถานะเต็มจำนวนกับการเทรดนี้ แต่ยังเปิดรับความเสี่ยงที่มากยิ่งกว่าได้อีกด้วย กลยุทธ์ดังกล่าวอาจหักล้างผลกำไรรวมถึงหักล้างความเสี่ยง นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความซับซ้อนให้กับการเทรดที่คุณไม่ยินดีต้อนรับ ถึงกระนั้น หากทำการกระจายความเสี่ยงได้ดีก็ควรส่งผลให้สามารถรักษาเงินทุนไว้ได้ในช่วงที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น

การทำ Hedging

การเทรด CFD นั้นจะมีประสิทธิภาพเป็นพิเศษเมื่อซื้อและถือหุ้นในตลาดต่างประเทศ ผลที่ตามมาคือคุณมีการเปิดรับความเสี่ยงจากสกุลเงินดังนั้นการใช้ CFD สำหรับ FX สามารถช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของสกุลเงินในพอร์ตการลงทุนทางกายภาพของคุณได้

ในทำนองเดียวกัน การลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความผันผวนสามารถป้องกันได้โดยใช้ CFD สำหรับดัชนี ในทางกลับกัน หากคุณคาดว่าจะเกิดช่วงขาลงอย่างรวดเร็ว เช่นนั้นคุณสามารถเข้าสถานะระยะสั้นในสินทรัพย์ปลอดภัยได้ ซึ่งโดยทางทฤษฎีแล้วควรรักษามูลค่าไว้ได้หากตลาดแย่ลง ทองคำ เป็นตัวอย่างของสินทรัพย์ปลอดภัยที่มีมาช้านาน

มีกลยุทธ์มากมายให้ใช้ รวมถึงการเทรดสินทรัพย์ที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับสถานะที่คุณมีหรือสินทรัพย์ที่จะหักล้างกับสถานะที่คุณมีอยู่ ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีใด CFD ก็เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการลบล้างการเปิดรับความเสี่ยงจากตลาดเมื่อมีความผันผวนสูงเนื่องจากคุณต้องสามารถเข้าสถานะได้ในทั้งสองทิศทาง

คุณได้เริ่มเทรดกับโบรกเกอร์ระดับโลกที่ได้รับรางวัลแล้วหรือยัง?
สมัคร FXTM วันนี้เพื่อรับประสบการณ์เทรดที่เหนือชั้น

อภิธานศัพท์

Average True Range (ATR) - ช่วงการซื้อขายเฉลี่ยของตลาดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

Bollinger Band - แถบความผันผวนวางไว้เหนือและใต้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตั้งค่าโดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (Contract for Difference) - ตราสารอนุพันธ์ที่มีหลักประกันที่ให้คุณสามารถเทรดได้ทั้ง Long และ Short คุณแลกเปลี่ยนส่วนต่างระหว่างราคาเปิดกับราคาปิดของสัญญา

ความผันผวนโดยนัย - การคาดการณ์ของตลาดต่อการเคลื่อนไหวที่น่าจะเป็นของราคาสินทรัพย์ มักใช้เพื่อกำหนดราคาสำหรับสัญญาออปชั่น

ความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง - วัดการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์อ้างอิงโดยการวัดการเปลี่ยนของแปลงราคาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งบางครั้งเรียกว่าความผันผวนในอดีต

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน - ตัวชี้วัดทางสถิติที่แสดงให้เห็นว่าราคามีการกระจายตัวไปจากค่าเฉลี่ยมากเพียงใด ช่วงการเทรดที่แคบจะหมายถึงความผันผวนต่ำ

VIX - มาตรวัดความผันผวนที่คาดการณ์ไว้ในช่วง 30 วันใน S&P 500 ซึ่งบางครั้งเรียกว่ามาตรวัด ‘ความกลัว’ ค่าตัวเลขสูงหมายถึงตลาดที่มีความเสี่ยงและผันผวน

ความผันผวน - ตัวชี้วัดทางสถิติที่ระบุว่ามูลค่าของสินทรัพย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยและรวดเร็วเพียงใดรอบราคาเฉลี่ยในช่วงเวลาหนึ่ง ความผันผวนสูงมักหมายถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นเนื่องจากราคาสามารถคาดเดาได้น้อยลง

พร้อมที่จะเปลี่ยนความผันผวนให้เป็นโอกาสแล้วใช่ไหม?

กรอกแบบฟอร์มเพื่อเริ่มต้นใช้งานและคุณจะได้รับ
บัญชีเทรดของตัวเองในไม่กี่นาที


มีคำถามหรือไม่? ติดต่อเรา – เราพร้อมช่วยเหลือคุณ

Scroll Top
การเตือนความเสี่ยง: การเทรดมีความเสี่ยง เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง Exinity Limited มีการกำกับดูแลโดย FSC (มอริเชียส)
การเตือนความเสี่ยง: การเทรดมีความเสี่ยง เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง Exinity Limited มีการกำกับดูแลโดย FSC (มอริเชียส)